ดันทีมไทยสู่เวทีสากลต่อยอดธุรกิจใช้เทคโนโลยีอวกาศ S-Booster 2024

ขอแสดงความยินดีกับทีม Electron+ ทีม uAlpha จากประเทศไทย และทีม Inbound Aerospace จากประเทศอินเดียในความสำเร็จครั้งนี้ และผ่านเข้ารอบสู่รอบต่อไปเพื่อแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 2,500,000 บาท และมีโอกาสในการศึกษาดูงาน สร้างเครือข่าย ต่อยอดธุรกิจร่วมกับหน่วยงานบริษัทที่มีชื่อเสียง และบริษัท Start-up ญี่ปุ่น โดย GISTDA ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย และผลักดันร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรญี่ปุ่นพร้อมสร้างโอกาสการต่อยอดการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเข้าสู่ Global Value Chian โดยกิจกรรมโครงการแข่งขันไอเดียนวัตกรรมอวกาศ S-Booster 2024 (Asian-Oceania Round) ได้จัดขึ้นในวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00-17.00 น. ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

ผลการแข่งขัน 3 ทีมที่เข้ารอบสู่รอบ Final Round ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่
1. ทีม Electorn+ หัวข้อโครงการ Flexible thermal management suite for comfortable life of astronaut โดยคุณจักรกฤษ กอบพันธ์ จากประเทศไทย
2. ทีม uAlpha หัวข้อโครงการ Micro – Solutions for Further Destination โดยคุณ Nicharas Kireeudomwit และคุณ Thanet Vilasmongkolchai จากประเทศไทย
3. ทีม Inbound Aerospace หัวข้อโครงการ An autonomous, unmanned free-flying, recoverable spacecraft
โดย Mr. Vishal Chilupuri จากประเทศอินเดีย
และผู้ที่ได้รับรางวัล GISTDA AWARD ได้แก่ทีม Bridging the Gap หัวข้อโครงการ Satellite Data for Empowering Emerging Economies โดย Dr. Abhas Masekey จากประเทศเนปาล

โดยโครงการ S-Booster 2024 เปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นเส้นทางสู่การสร้างธุรกิจของตนเองในอนาคต โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ Gistda ร่วมจัดงานกับ Cabinet Office of Japan, JAXA, NEDO และหน่วยงานพันธมิตรไทยและญี่ปุ่นจัดกิจกรรมแข่งขันประกวดไอเดียทางธุรกิจนวัตกรรม เพื่อดันไอเดียสัญชาติไทย ดังไกลสู่นวัตกรรมใหม่ในระดับโลก และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น Sony Group, Honda, ANA, Taisho Pharmaceutical, SKY Perfect JSAT Group, Yokogawa Electric, Mitsui & Co., Ltd. เพื่อโดยมีเป้าหมายสำคัญในการขยายศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการทั้งไทย และต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมดั้งเดิม เพื่อเข้าสู่โอกาสทางธุรกิจด้วยนวัตกรรม Upstream และ Downstream จากอวกาศ เช่น การใช้ข้อมูลระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม (Location Positioning Service) หรือการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก หรือดาวเทียมโทรคมนาคม เป็นต้น ประกอบกับ GISTDA เองก็มีแนวคิดในการสร้างระบบเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งและยั่งยืน และเข้าสู่ End User ได้มากยิ่งขึ้น