# OUR HISTORY

About us

# ABOUT US

ศูนย์ส่งเสริมและบริการด้านกิจการอวกาศ

ศูนย์ส่งเสริมและบริการด้านกิจการอวกาศ ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล เครือข่ายการวิจัย และการบริการเกี่ยวกับอวกาศของอุตสาหกรรมอวกาศไทย โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ขับเคลื่อนในด้านอวกาศไทย ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้เกิดระบบนิเวศน์ด้านอวกาศในประเทศไทย

Space Krenovation Park (SKP) อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี กำกับการดูแลของ สทอภ. เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมด้านอวกาศ ให้บริการ และคำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนธุรกิจอวกาศควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ โดย สทอภ. มีโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนธุรกิจด้านอวกาศ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ/IP ด้านการเงิน มีการพัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจร่วมกับบริษัทเอกชนชั้นนำ การพัฒนางานวิจัย และวิชาการร่วมกับหน่วยงานภาคการศึกษา มีการจัดฝึกอบรมการสร้างแบรนด์ รวมถึงด้านการบริการจัดการ และการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor (EEC) สทอภ. ได้จัดทำ Space Directory หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการเชื่อมโยง และเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศเพื่อสร้างระบบนิเวศด้านอวกาศ (Space Ecosystem) เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านอวกาศ รวมถึงผู้ประกอบการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดาวเทียม มีการจัดหมวดหมู่หรือกลุ่มข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ค้นหาสามารถค้นหาและเรียกดูข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น เกิดการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศ

# ABOUT US

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)

สทอภ.ได้เตรียมจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อรองรับการส่งเสริมและกำกับกิจการอวกาศของประเทศ Space Affair and Regulation Center จัดทำร่างนโยบายและแผนกิจการอวกาศ  ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ และพัฒนากิจการอวกาศและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายและแผนกิจการอวกาศ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้า วิจัย วิทยาการอวกาศ การสำรวจอวกาศ และโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมอวกาศ  ตลอดจน การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาการอวกาศ และให้เกิดการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทย

01

ศูนย์ข้อมูลอวกาศแห่งชาติ

ซึ่งจะให้บริการทั้งในส่วนระบบการให้บริการข้อมูล ที่ช่วยจัดหาและสนับสนุนข้อมูลด้านอวกาศของไทยอันรวมไปถึงข้อมูลภูมิสารสนเทศ เช่น ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่อง เป็นต้น และระบบการประมวลผลผ่านระบบคลาวด์ ที่จะเป็นเสมือนซอฟต์แวร์ทางด้านภูมิสารสนเทศ ที่ใช้ในการประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์กับที่ต้องการ และให้ประชาชนผู้ต้องการใช้งานเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น

02

ภายในอุทยานฯ

มีศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาดาวเทียมแห่งขาติ National Satellite Development Excellent Center มีอาคารประกอบและทดสอบดาวเทียม AIT ได้พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ THEOS-2 ซึ่งอาคาร AIT เป็นอาคารที่ทันสมัยมีมาตรฐานระดับสากล เพื่อรองรับการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์สร้างประกอบและทดสอบดาวเทียม โดยเฉพาะดาวเทียมขนาดเล็กในประเทศไทย และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมดาวเทียมของโลกในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ภายในอาคารจะมีห้องวิจัยและพัฒนาดาวเทียมระบบห้องสะอาดควบคุมอนุภาค (Clean room) และอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการพัฒนาต้นแบบดาวเทียม (Test Bench)

03

ห้องปฏิบัติการ

มีห้องปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศ (GISTDA’s Aerospace Laboratory of Excellence and Innovation: GALAXI) เป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมการบินและอวกาศ ในการสร้างบุคลากรด้านวิศวกรรมร่วมกับภาคการศึกษา รวมถึง ให้บริการการทดสอบชิ้นส่วนวัสดุอากาศยาน สำหรับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ซึ่งได้รับรองมาตรฐานในระดับสากล โดยมุ่งเน้นการวิจัย พัฒนาวัสดุและโครงสร้างของอากาศยาน ตั้งแต่ด้านการออกแบบ การผลิตและการทดสอบ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรรมอวกาศในประเทศไทยสู่สากล

# ABOUT US

บริการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์

มีศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศให้บริการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ Space Technology Research Center (S-TREC) ซึ่งศูนย์วิจัยฯ ได้มีการพัฒนาระบบ ดังต่อไปนี้

  • การจัดการจราจรอวกาศ Space Traffic
  • การพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอวกาศ Space Weather
  • การพัฒนาระบบบริหารจัดการอากาศยานไร้คนขับ Unmanned Aircraft System Traffic Management (UTM)
  • ระบบเฝ้าระวังทางอวกาศและการจราจรทางอวกาศ (SSA&STM)
  • การพัฒนาระบบการจราจรทางอากาศของอากาศยานไร้คนขับ (UTM)
  • ปฏิบัติการเฝ้าระวังทางอวกาศ Space Situational Awareness (SSA)
  • Onboard Flight Software of Small Satellite โครงการพัฒนา Flight Software สำหรับดาวเทียม

เป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อยกระดับเทคโนโลยีอวกาศ ให้ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอวกาศของประเทศไทย

0 +
Project Complete