# OUR SERVICES

การพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอวกาศ

ที่มาและความสำคัญ เนื้อหาเกี่ยวกับระบบเชื่อมต่อไปกับระบบ NSDC
ของโครงการเพื่อการใช้งานสู่สังคม

การเกิดปรากฏการณ์สภาพอากาศในอวกาศที่รุนแรง เช่นพายุสุริยะ การปลดปล่อยเปลวสุริยะ การปลดปล่อยมวลโคโรนา หรือพายุสนามแม่เหล็ก ส่งผลกระทบให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อการใช้งานระบบเทคโนโลยีบนโลก ดังนั้นการทำความเข้าใจและคาดการณ์สภาพอวกาศจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงได้จัดสรรทรัพยากรเพื่อการวิจัยสภาพอากาศในอวกาศ การติดตาม และการพยากรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ปรับการทำงานของดาวเทียม และรับประกันความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีที่เปราะบางและกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยสภาพอากาศในอวกาศ จึงได้ลงทุนและกำหนดนโยบายและแผนงานระดับชาติโดยโครงการนี้มีความเกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูลอวกาศแห่งชาติ เนื่องจากข้อมูลสภาพอวกาศถูกรวมเป็นหนึ่งในข้อมูลอวกาศซึ่ง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA มีจุดมุ่งหมายที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านอวกาศไว้ในแพลตฟอร์มเดียวที่มีชื่อว่า “ศูนย์ข้อมูลอวกาศแห่งชาติ” (National Space Data Center, NSDC)

Contact

Sittiporn Channumsin

Acharaporn Bumrungkit