# OUR SERVICES

โครงการพัฒนา Flight Software สำหรับดาวเทียม

1. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนา Flight Software สำหรับดาวเทียม (Onboard Flight Software of Small Satellite)

 รูปที่ 1 สัญญาลักษณ์โครงการ TOPAZ

ที่มาและความสำคัญ ของโครงการ

Flight Software หรือระบบสมองของดาวเทียมนั้นถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดในควบคุมการทำงานของดาวเทียม โดยสามารถควบคุมการทำงานของดาวเทียมในขณะที่อยู่ในวงโครจร ได้ตลอดช่วงอายุการใช้งาน นอกจากการพัฒนาให้ส่วนประกอบต่าง ๆของดาวเทียมทั้งหมดให้สามารถทำงานได้ร่วมกันได้แล้ว จะต้องมีการทดสอบที่แม่นยำเพื่อให้ Flight Software ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความคงทนในการทำงาน โดยการพัฒนาระบบจำลอง Simulator สำหรับจำลองอุปกรณ์ดาวเทียมขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดสอบระบบ Flight Software

รูปที่ 2 ภาพรวมของโครงการ Flight Software

รูปที่ 3 การพัฒนาระบบ Flight Software, Simulator และ Ground Control

รูปที่ 4 on-board Computer

รูปที่ 5 การพัฒนาระบบ Flight Software และระบบการสื่อสารของดาวเทียม CubeSat

ผลการพัฒนา

  1. ตีพิมพ์ paper: The Performance Issues and a New Architecture Design for the GISTDA Satellite Simulator ( 2021, International Electrical Engineering Congress (iEECON), Tanin S )
  2. ตีพิมพ์ paper: Hardware-in-the-Loop Simulation for Satellite System Verification( 2022,International Electrical Engineering Congress (iEECON), Tanin S )

หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือ

ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย Thai Space Consortium TSC

2. การบริการการอบรม Workshop เรื่องการสื่อสารระยะไกลแบบ LoRa ด้วย Half-Cube

รูปที่ 6 Half-cube

ที่มาและความสำคัญ ของโครงการ

การสื่อสารแบบ LoRa Technology เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสื่อสารที่นิยมนำมาใช้งานในด้าน IoT (Internet of Things) ซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องการใช้พลังงานที่ต่ำและระยะทางในการสื่อสารแบบ Long Range ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้บนดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit)เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐานและแนวทางการพัฒนาต่อย่อทางด้านดาวเทียม ศูนย์วิจัยจึงได้มีกาพัฒนาชุดฝึกเพื่อการศึกษาด้าน Satellite IoT ด้วยระบบการสื่อสารแบบ LoRa: Half-Cube

ผลิตภัณฑ์ spec ของเครื่องมือ

รูปที่ 7 โมเดล Half-cube

ชุดโมเดล Half Cube

ประกอบด้วย

  • บอร์ด PCB 4 ชิ้น
  • LoRa gateway 1ชิ้น
  • GPS Antenna 
  • Power Adapter

รูปที่ 8 เอกสารประกอบการอบรม

คู่มือการพัฒนาชุดฝึกเพื่อการศึกษษด้าน STEM ในหัวข้อดาวเทียมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง Satellite IoT

ประกอบด้วย

  • บทที่ 1 รายละเอียดอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • บทที่ 2 การติดตั้งโปรแกรมสำหรับพัฒนา onboard
  • บทที่ 3 การทดลอง sensors
  • บทที่ 4 การทดลอง sensors ผ่าน LoRa
  • บทที่ 5 การจัดตั้ง LoRa Gateway
  • บทที่ 6 การเชื่อมต่อ node เข้ากับ LoRa Server
  • บทที่ 7 การแสดงผลบน Dashboard

 

หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือ

  1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Contact

คุณสุวัฒน์ ศรีเศวต