# OUR SERVICES

การพัฒนาระบบบริหารจัดการอากาศยานไร้คนขับ (UTM)

1. ชื่อโครงการ การพัฒนาระบบบริหารจัดการอากาศยานไร้คนขับ (UTM)

Fig.1 logo of “AMETHYST project”

การพัฒนาระบบบริหารจัดการอากาศยานไร้คนขับ (UTM)

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization, ICAO) ได้ให้จำนิยาม UTM ว่าเป็นหนึ่งในการบริหารจัดการจราจรทางอากาศที่มุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการ การปฏิบัติการของระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System, UAS) โดยมุ่งเน้นให้ปฏิบัติการของ UAS มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานไร้คนขับ โดยการให้บริการผ่านชุดบริการ และ facility ต่างๆที่เกิดจากความรวมมือของทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในขณะที่ปัจจุบันตลาดของอากาศยานไร้คนขับมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และมีแนวโน้มของตลาดที่จะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าภายในปี 2030 เหตุนี้ระบบ UTM จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปิดตลาดใหม่ๆ ของเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทย

2. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อออกแบบและพัฒนาต้นแบบระบบ UTM ที่มีมาตรฐาน ผ่านการทดสอบและพร้อมใช้งาน ที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือผู้ประกอบการให้บริการจราจรอากาศยานไร้คนขับสามารถนำไปใช้งานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้งานหรือ ผู้ประกอบการอากาศยานไร้คนขับได้ทันที (UTM Prototype)  
  2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการกำกับดูแลการจราจรอากาศยานไร้คนขับให้มีประสทธิภาพและ มีความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล (UTM for drones operations)
  3. เพื่อสร้างเครื่องมือในการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐให้มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีความพร้อมในการกำกับดูแล และดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ห้วงอากาศให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด (UTM for regulations implementation)
  4. เพื่อสร้างเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการใช้อากาศยานไร้ คนขับให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคอุตสาหกรรมภาคเศรษฐกิจและสังคม (Enabling UAS industry by UTM)

3. เป้าหมาย

ระยะสั้น

1) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีรองรับการใช้งาน UTM ตลอดจนเครื่องมือและอัลกอริทึมในการวิเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับในประเทศให้สามารถใช้งานอากาศยานไร้คนขับได้อย่างเต็มรูปแบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย

ระยะกลาง

2)  เพื่อพัฒนา Framework ในการบูรณาการร่วมกันเพื่อปฏิบัติการสำหรับอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทย ที่ คำนึงถึงบริบทในการใช้งานภายในประเทศไทยและเป็นไปตามกฎระเบียบและนโยบายในการบริหารจัดการใช้งาน ห้วงอากาศและการ

3)  เพื่อพัฒนาระบบ UTM ให้มีความพร้อมที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้บริการผู้ใช้งานและผู้ประกอบการโดรน ในประเทศในทุกรูปแบบให้มีเครื่องมือกลางที่จะสามารถนำไปใช้และอำนวยความสะดวกเพื่อปฏิบัติตามนโยบายและข้อ กฎหมายของประเทศ

ระยะยาว

4) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในประเทศด้นเทคโนโลยี UTM โดยใช้บุคลากรในประเทศ, ใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วในประเทศ, และมี Technology heritage ของประเทศที่สามารถเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในด้านใช้งานเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ และทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับได้อย่างยั่งยืนและสามารถพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี ได้อย่างแท้จริงฃ

4. การบรรลุเป้าหมายของโครงการ

โครงการ UTM อยู่ในช่วงกำลังพัฒนาโดยมุ่งเน้นเป้าหมายในการทำ one-stop-service แพลตฟอร์ม โดยหลักการออกแบบด้วย service-oriented และ modular web ทั้งนี้เรามุ่งหวังที่จะสาธิตเทคโนโยลีที่ทันสมัยที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับ และกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ห้วงอากาศระดับต่ำ (Low-level airspace) โดยประกอบด้วยบริการพื้นฐานได้อยู่ในช่วงพัฒนาดังต่อไปนี้

  1. E-registration
  2. E-identification
  3. Geo-awareness mapping
  4. Drone operational plan processing
  5. Tracking and monitoring

Fig. 2 Amethyst platform login page

Fig. 3 Drone operational plan processing service

Fig. 4 E-registration service

Fig. 5 Connect a registered drone with remote ID

Fig. 6 Drone remote ID prototype

Fig. 7 Field demonstration of remote ID prototype

Contact

Sittiporn Channumsin

Suwat Sreesawet