เด็กไทย สร้างชื่อ! ยกทัพโกอินเตอร์ญี่ปุ่น นำผู้ชนะโครงการแข่งขันการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า
เมื่อวันที่ 3-6 สิงหาคม 2567 GISTDA ร่วมกับ National Space Policy Secretariat, Cabinet Office of Japan (CAO), Multi -GNSS-Asia, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA), MIE University, KEIO university และหน่วยงานพันธมิตรญี่ปุ่น ร่วมจัดกิจกรรม Rapid Prototype Development Booth Camp นำทีมโดยเด็กไทยผู้ชนะลงพื้นที่ ณ เมือง OWASE และ Kyoto ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่
1.) Team REC จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ชนะรางวัลชนะเลิศ (MGA Awards)
2.) Team Haitenshyon จากโรงเรียนพุนพินพิทยาคม ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ (GISTDA Awards)
3.) Team Nong-Tang ทีมผสมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ (GISTDA Awards)
4.) Team WEEKEL จากประเทศมาเลเซีย ผู้ชนะรางวัล (Michibiki Awards)
การลงพื้นที่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเป้าสำรวจ เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น สรุปข้อปัญหาภัยพิบัติ (Pain Point) และหาแนวทางแก้ปัญหาของประชาชนในเมือง ผ่านการ Workshop ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละทีมนำเสนอไอเดียพัฒนาแล้วมาต่อยอด ประยุกต์เข้ากับแจ้งเตือนภัยพิบัติในท้องถิ่น เพื่อช่วยจัดการปัญหา อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม พายุใต้ฝุ่น ตลอดจนปัญหาดินถล่ม โดยเสนอแนวคิด และแนวทางให้กับเมือง ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ จะสามารถนำไปต่อยอดช่วยจัดการแก้ไขปัญหาให้กับเมืองโอวาเซะได้ในอนาคต
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและไทย โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับ (CAO), Multi -GNSS-Asia, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) และหน่วยงานพันธมิตรญี่ปุ่น จัดกิจกรรมส่งเสริมในการพัฒนาต่อยอดการใช้เทคโนโลยีอวกาศและอุปกรณ์ต้นแบบ IoT (RPD Challenge) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า (Early Warming Service) ด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (QZSS) ในระดับนานาชาติโดยใช้ features สำคัญของดาวเทียมนำทางจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถแจ้งตำแหน่งแม่นยำสูงพร้อม ข้อความแบบสั้น (Short Message) แต่ละทีมจะนำ Hardware IoT ที่ได้รับ มาแข่งขันและพัฒนาระบบที่สามารถพัฒนาการทำงานร่วมกับมือถือสมาร์ทโฟน นาฬิกา หรืออุปกรณ์แจ้งเตือน เพื่อสามารถแจ้งเตือนได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆสามารถแจ้งเหตุภัยพิบัติให้รับรู้โดยทั่วกัน ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียอันเกิดจากธรรมชาติได้อย่างมหาศาล และสำคัญที่สุดคือสามารถแจ้งเตือนด้วยข้อมูลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่ กับตำแหน่งและพื้นที่ (Location Based)