GISTDA ศรีราชา ให้การต้อนรับอัครราชทูตญี่ปุ่นฝ่ายเศรษฐกิจประจำประเทศไทยเยี่ยมชมความก้าวหน้าการดำเนินงานกิจการด้านอวกาศ และโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย

ในวันที่ 24 มิถุนายน 2568 Mr. KAJIWARA Toru หัวหน้าคณะผู้แทน ฝ่ายเศรษฐกิจ อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ให้โอกาสเข้าเยี่ยม พร้อมด้วยคณะทำงาน เยี่ยมชมการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ หรือ SKP อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมรับฟังการบรรยายบทบาทภารกิจของ GISTDA โดยมีนายดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รอง ผสทอภ. GISTDA พร้อมคณะให้การต้อนรับ
GISTDA เป็นหน่วยงานหลักที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมอวกาศ หรือ Space Industry ของประเทศ โดยรัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งการกระจายรายได้ และสร้างความมั่นคงทางสังคม โดยการลงพื้นที่อัครราชทูตญี่ปุ่นฝ่ายเศรษฐกิจประจำประเทศไทยในครั้งนี้ เยี่ยมชมศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียม (Assembly integration and testing (AIT)
ศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียม เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศ ตั้งอยู่ภายในอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นศูนย์ที่มีความทันสมัย เพื่อรองรับการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์ สร้าง ประกอบ และทดสอบดาวเทียม นั่นเพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศเปรียบเสมือนการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีของประเทศ เยี่ยมชมโครงการพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอวกาศของประเทศไทย
(Space Weather Forecast System) เพื่อมุ่งเน้นการเฝ้าระวัง (Monitor) และแจ้งเตือน (Warning) ภัยคุกคามจากอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะอากาศในอวกาศหรือ Space Weather อันเนื่องมาจากกิจกรรมของดวงอาทิตย์ที่ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็กโลก และเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักวิจัยและผู้ที่สนใจนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น การใช้ประโยชน์ ข้อมูลจาก Space Weather จะถูกนำมาวิเคราะห์ และเผยแพร่เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสู่การศึกษาวิจัยและพัฒนาในหลายด้าน ได้แก่ การศึกษาคุณลักษณะของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ระบบนำร่องอากาศยาน และการสื่อสารดาวเทียม
โดยการเยี่ยมชมครั้งนี้เพื่อหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในการต่อยอดสร้างโอกาสผลักดันให้บริษัทในประเทศไทยร่วมงานกับทางญี่ปุ่น ในรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทยในอนาคตด้วย