GISTDA

ผู้เขียน: sapace

  • GISTDA พัฒนาระบบควบคุมจราจรอากาศของอากาศยานไร้คนขับ ในการกำกับดูแลการจราจรอากาศยานไร้คนขับให้มีประสทธิภาพ และมีความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการบริหารจัดการห้วงอากาศไทย

    GISTDA พัฒนาระบบควบคุมจราจรอากาศของอากาศยานไร้คนขับ ในการกำกับดูแลการจราจรอากาศยานไร้คนขับให้มีประสทธิภาพ และมีความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการบริหารจัดการห้วงอากาศไทย

    GISTDA พัฒนาระบบควบคุมจราจรอากาศของอากาศยานไร้คนขับ ในการกำกับดูแลการจราจรอากาศยานไร้คนขับให้มีประสทธิภาพ และมีความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการบริหารจัดการห้วงอากาศไทย

    ในวันจันทร์ ที่ 17 มีนาคม 2568 เวลา 9.00 น.- 16.00 น. ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี สทอภ. ได้จัดการประชุม Demonstration “Development of Unmanned Aircraft Traffic Management (UTM)” โดยการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม อาทิ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.), วิทยุการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์อากาศยานไร้คนขับ (Drone) โดย สทอภ. ร่วมกับ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) ภายใต้สำนักงาน กสทช. ดำเนิน. โครงการพัฒนาระบบควบคุมจราจรอากาศของอากาศยานไร้คนขับ Unmanned Aircraft Management (UTM) และได้ดำเนินการจัดงานสาธิตระบบควบคุมการจราจรฯ (Demonstration) เพื่อแสดงขีดความสามารถของระบบและรับฟังข้อคิดเห็นจากหน่วยงานในความร่วมมือการปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับในประเทศให้สามารถใช้งานในการใช้งานภายในประเทศไทย เพื่อเป็นไปตามกฎระเบียบและนโยบายในการบริหารจัดการใช้งานห้วงอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย และเสริมสร้างศักยภาพในประเทศด้นเทคโนโลยี UTM โดยใช้บุคลากรในประเทศ, ใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วในประเทศ, และมี Technology heritage ของประเทศที่สามารถเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในด้านใช้งานเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ และทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับได้อย่างยั่งยืนและสามารถพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี ได้อย่างแท้จริง

  • ประกาศขอแสดงความยินดีกับทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน RPD Challenge 2024

    ประกาศขอแสดงความยินดีกับทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน RPD Challenge 2024

    ประกาศขอแสดงความยินดีกับทีมที่ผ่านการแข่งขัน RPD Challenge 2024 

     

    พิจารณาเป็นพิเศษแล้วพิจารณาเห็นความสามารถและการควบคุมในแต่ละทีมในการ
    เพิ่มทีมที่เข้าระบบจากจำนวน 15 ทีมเป็น 17 ทีมจำนวน 17 ทีมรายการดังนี้
    – NPRU
    – UTD
    – JesKawin
    – KSIAS
    – ppt
    – SUT.GeoGuard
    – OurHana
    – Netsal
    – RBRU_CS+GI_1
    – Arigato
    – Mihoshe
    – Thoth
    – PSUROBONAMI
    – TNNJ
    – Salmon
    – Geolnovators
    – มูงเด็น

    *ทั้งรายการนี้ที่ประกาศไม่ได้เรียงตามคะแนน

  • ✨กำหนดการแข่งขัน RPD Challenge 2024✨

    ✨กำหนดการแข่งขัน RPD Challenge 2024✨

    ✨กำหนดการแข่งขัน RPD Challenge 2024✨
    โดยอัปโหลดวิดีโอลงบน Youtubeนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษโดยส่งลิงก์ผ่าน Google Form
    https://forms.gle/74wR3oBMrbJEXC647
    ก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 16.00 น.
    *หากไม่ได้ส่งวิดีโอนำเสนอไอเดีย จะถือว่าสละสิทธิ์การเข้าร่วมการแข่งขัน และจะไม่ได้รับประกาศนียบัตร*
     
    GISTDA ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นจัดการแข่งขัน เฟ้นหาทีมชนะเลิศเพื่อพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT
    ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเสริมสร้างแนวคิดการพัฒนา ต่อยอดการใช้อุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (Early Warming Service) ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ
     
    ข้อมูลรายละเอียดการแข่งขันเพิ่มเติม
    สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่
    Space.promotion@gistda.or.th*
  • กิจกรรม RPD Challenge เริ่มแล้ว เพื่อเฟ้นหาทีมไทยเพื่อพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT!!

    กิจกรรม RPD Challenge เริ่มแล้ว เพื่อเฟ้นหาทีมไทยเพื่อพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT!!

    กิจกรรม RPD Challenge เริ่มแล้ว เพื่อเฟ้นหาทีมไทยเพื่อพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT!!

    เริ่มต้นในรอบ Ideathon อบรมออนไลน์ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 9.00 – 13.00 น.

    GISTDA ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นจัดการแข่งขันกิจกรรม RPD Challenge 2024 หรือ Rapid Prototype Development (RPD) Challenge 2024 เฟ้นหาทีมชนะเลิศเพื่อพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง

    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเสริมสร้างแนวคิดการพัฒนา ต่อยอดการใช้อุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (Early Warming Service) ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ🛰️

  • ไทยไม่พลาด ! คว้ารางวัลชนะเลิศ ASIA OSEANIA PRIZE รอบชิงชนะเลิศ S-Booster 2024 ที่ประเทศญี่ปุ่น

    ไทยไม่พลาด ! คว้ารางวัลชนะเลิศ ASIA OSEANIA PRIZE รอบชิงชนะเลิศ S-Booster 2024 ที่ประเทศญี่ปุ่น

    ไทยไม่พลาด ! คว้ารางวัลชนะเลิศ ASIA OSEANIA PRIZE รอบชิงชนะเลิศ S-Booster 2024 ที่ประเทศญี่ปุ่น
    GISTDA ขอแสดงความยินดีกับทีม uAlpha จากประเทศไทยโดยคุณณิชารัศม์ คีรีอุดมวิทย์ และคุณธเนศ วิลาสมงคลชัย เสนอไอเดีย หัวข้อโครงการ FOOD PRODUCTION SYSTEM THAT WILL HELP HUMANITY GO FURTHER ซึ่งตอบโจทย์แห่งอนาคตที่มนุษย์ต้องมีวิธีการผลิตอาหารบนดาวอังคารและดวงจันทร์ในการดำรงชีวิตในอวกาศ และชนะใจกรรมการได้รับเงินรางวัลชนะเลิศ ASIA OSEANIA PRIZE มูลค่ารวมกว่า 1,000,000 เยน และมีโอกาสในการศึกษาดูงานสร้างเครือข่ายต่อยอดธุรกิจร่วมกับหน่วยงานบริษัทที่มีชื่อเสียงร่วมกับบริษัท Start-up ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 โดยมีทีม สัญชาติ ไทยได้แก่
    1. ทีม uAlpha หัวข้อโครงการ FOOD PRODUCTION SYSTEM THAT WILL HELP HUMANITY GO FURTHER โดยคุณณิชารัศม์ คีรีอุดมวิทย์ และคุณธเนศ วิลาสมงคลชัย
    2. ทีม Electorn+ หัวข้อโครงการ Flexible thermal management suite for comfortable life of astronaut โดยคุณจักรกฤษ กอบพันธ์
    โดย GISTDA หรือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศจับมือกับสำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น (Cabinet Office of Japan), JAXA, NEDO และหน่วยงานพันธมิตรไทยและญี่ปุ่นจัดกิจกรรมแข่งขันประกวดไอเดียทางธุรกิจนวัตกรรม เพื่อดันไอเดียสัญชาติไทย ดังไกลสู่นวัตกรรมใหม่ในระดับโลก และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น Sony Group, Honda, ANA, Taisho Pharmaceutical, SKY Perfect JSAT Group, Yokogawa Electric, Mitsui & Co., Ltd. เพื่อโดยมีเป้าหมายสำคัญในการขยายศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการทั้งไทย และต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมดั้งเดิม เพื่อเข้าสู่โอกาสทางธุรกิจด้วยนวัตกรรม Upstream และ Downstream จากอวกาศ เช่น การใช้ข้อมูลระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม (Location Positioning Service) หรือการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก หรือดาวเทียมโทรคมนาคม เป็นต้น ประกอบกับ GISTDA เองก็มีแนวคิดในการสร้างระบบเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งและยั่งยืน และเข้าสู่ End User ได้มากยิ่งขึ้น
  • สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)  และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) หารือร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมด้านอวกาศ

    สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) หารือร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมด้านอวกาศ

    สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) หารือร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมด้านอวกาศ

    ในวันอังคารที่ 7 มกราคม 2568 เวลา 13.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร AIT อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
    ให้การต้อนรับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการทำงานร่วมกันในการใช้ระบบมาตรวิทยา เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถของห้องปฎิบัติการ ทดสอบ และสอบเทียบให้มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเข้าเยี่ยมชมกิจการและดูงาน เพื่อเป็นการร่วมมือในการสร้างมาตรฐานเครื่องมือ และพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมด้านอวกาศในอนาคตร่วมกันอีกด้วย

  • 📣📣📣 ประกาศข่าวดี‼️ กิจกรรม RPD Challenge 2024 ได้ขยายเวลารับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ – 23 ธันวาคม 2567 เท่านั้น📣📣📣

    📣📣📣 ประกาศข่าวดี‼️ กิจกรรม RPD Challenge 2024 ได้ขยายเวลารับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ – 23 ธันวาคม 2567 เท่านั้น📣📣📣

    สมัครเข้าร่วมแข่งขันสแกน QR CODE หรือคลิ๊กลิงก์ด้านล่างฟรี!!!
    https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfQdaMqV6i-ccmiND4Qng-JaZef0E_OIS91MNxENjPI6krm4g/viewform

    **หมายเหตุ**
    1.การแข่งขัน RPD Challenge เป็นกิจกรรมภาษาอังกฤษ
    2.การแข่งขันของ RPD Challenge 2024 ของผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทยสมัครผ่านช่องทางนี้เท่านั้น

    GISTDA ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นจัดการแข่งขัน
    Rapid Prototype Development (RPD) Challenge 2024
    เฟ้นหาทีมชนะเลิศเพื่อพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง
    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเสริมสร้างแนวคิดการพัฒนา ต่อยอดการใช้อุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (Early Warming Service) ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ🛰️

  • 🚀 กิจกรรม S-Booster on Thailand Space Week 2024 ดันทีมไทยสู่เวทีสากลต่อยอดธุรกิจอวกาศ 💙

    🚀 กิจกรรม S-Booster on Thailand Space Week 2024 ดันทีมไทยสู่เวทีสากลต่อยอดธุรกิจอวกาศ 💙

    โครงการ S-Booster 2024 เปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นเส้นทางสู่การสร้างธุรกิจของตนเองในอนาคต โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ Gistda ร่วมจัดงานกับ Cabinet Office of Japan, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA), New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) และหน่วยงานพันธมิตรไทยและญี่ปุ่น จัดกิจกรรมแข่งขันประกวดไอเดียทางธุรกิจนวัตกรรมเพื่อดันไอเดียสัญชาติไทยดังไกลสู่นวัตกรรมใหม่ ในระดับโลก และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น Sony Group, Honda, ANA, Taisho Pharmaceutical, SKY Perfect JSAT Group, Yokogawa Electric, Mitsui & Co., Ltd. โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขยายศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการทั้งไทย และต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมดั้งเดิม เพื่อเข้าสู่โอกาสทางธุรกิจด้วยนวัตกรรม Upstream และ Downstream จากอวกาศ เช่น การใช้ข้อมูลระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม (Location Positioning Service) หรือการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก หรือดาวเทียมโทรคมนาคม เป็นต้น ประกอบกับ GISTDA เองก็มีแนวคิดในการสร้างระบบเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งและยั่งยืน และเข้าสู่ End User ได้มากยิ่งขึ้น
    🛰️ โดยกิจกรรม S-Booster on Thailand Space Week 2024 จัดขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.50-14.50 น. ณ The Stage 2 ภายในงาน Thailand Space Week 2024 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี, กรุงเทพฯ ซึ่งมีกิจกรรมที่ 1บนเวทีหัวข้อ: จุดไฟฝัน สร้างแรงบันดาลใจผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอวกาศไทย โดย คุณอมฤต เจริญพันธ์ ผู้นำในการพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจของประเทศไทย, นักลงทุนอิสระ, ผู้ก่อตั้ง, ที่ปรึกษา และคณะกรรมการบริษัทในมากกว่า 20 บริษัท
    🛰️ และกิจกรรมที่ 2 บนเวทีหัวข้อ: เทคนิค Pitch อย่างไรให้ชนะ โดนใจกรรมการ โดย คุณกาญจน์ชนิต ธำรงบุญเขต จากผู้ชนะเลิศ Grand Prize Awards S-Booster 2021 จากประเทศไทย
    🛰️ กิจกรรมที่ 3 บนเวทีหัวข้อ: Pitching S-Booster on Thailand Space Week 2024 และกิจกรรมเวทีหัวข้อ: Pitching S-Booster on Thailand Space Week 2024 โดยมี 2 ทีมจากประเทศไทย ได้แก่ ทีม Electron+ ทีม uAlpha จากประเทศไทย โดยจะแข่งขัน S-Booster 2024 รอบ Final Round ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 2,500,000 บาท และมีโอกาสในการศึกษาดูงาน สร้างเครือข่าย ต่อยอดธุรกิจร่วมกับหน่วยงานบริษัทที่มีชื่อเสียง และบริษัท Start-up ญี่ปุ่น โดยทาง GISTDA ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย และผลักดันร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรไทยญี่ปุ่นพร้อมสร้างโอกาสการต่อยอดการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยสู่ธุรกิจอวกาศ ซึ่งทีมจากประเทศไทย ได้แก่ ทีมที่ 1 โครงการ Flexible thermal management suite for comfortable life of astronaut ของ คุณจักรกฤษ กอบพันธ์ จากบริษัท ELECTRON+
    ทีมที่ 2 โครงการ Micro – Solutions for Further Destination ของ คุณ Mr. ธเนศ วิลาสมงคลชัย และ คุณณิชารัศม์ คีรีอุดมวิทย์จากบริษัท uAlpha
    โดยมี Mentor จำนวน 2 ท่าน คุณอมฤต (คุณเอม) และคุณกาญจน์ชนิต (คุณปู) เพื่อให้คำปรึกษาเสนอแนะให้ผู้แข่งขันทีมไทยปรับแก้ไขก่อนแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่ประเทศญี่ปุ่น
    🚀 โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นซึ่งทาง GISTDA ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรไทยและญี่ปุ่นซึ่งให้การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ให้มีศักยภาพในการเกิดเทคโนโลยี และนวัตกรรม เกิดการสร้างความรู้ความเข้าใจในการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีอวกาศ จนก่อเป็นธุรกิจอวกาศ นำไปสู่การต่อยอด มุ่งสู่การเป็น Global Value Chain ในระดับโลก
    🚀 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่
    เว็ปไซต์ https://s-booster.jp/
    เบอร์โทรศัพท์ +66 033-046-307
     
     
       
     
  • ขอเชิญเข้าร่วมงานฟรี‼️‼️ S-Booster on Thailand Space Week 2024

    ขอเชิญเข้าร่วมงานฟรี‼️‼️ S-Booster on Thailand Space Week 2024

    จุดไฟฝันสร้างแรงบันดาลใจผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอวกาศไทย ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมนี้ลุ้นรับรางวัลมากมาย
    🗓️ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.50 – 14.50 น. ณ the Stage 2 Hall 9 – 10 อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร 🛰
     
    ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน 🚀 Thailand Space Week 2024 ได้แล้ววันนี้ เพียงแสกน QR CODE หรือ คลิก https://space.dgshark.com/Register/th อีกทั้งภายในงานร่วมชมนิทรรศการ และพบปะบริษัทชั้นนำ จับคู่ทางธุรกิจด้านอวกาศ
    และกิจกรรมอีกมากมาย
     
    กิจกรรม S-Booster on Thailand Space Week 2024 เปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นเส้นทางสู่การสร้างธุรกิจของตนเองในอนาคต โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
    หรือ Gistda ร่วมจัดงานกับ Cabinet Office of Japan, JAXA, NEDO และหน่วยงานพันธมิตรไทยและญี่ปุ่น
    จัดกิจกรรมแข่งขันประกวดไอเดียทางธุรกิจนวัตกรรม เพื่อดันไอเดียสัญชาติไทย ดังไกลสู่นวัตกรรมใหม่ในระดับโลก
    โดยจะมีการให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในโครงการกับวิทยากรผู้มากประสบการณ์
     
    ✨จุดไฟฝัน สร้างแรงบันดาลใจผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอวกาศไทย
    โดย คุณอมฤต เจริญพันธ์ ผู้นำในการพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจของประเทศไทย, นักลงทุนอิสระ, ผู้ก่อตั้ง, ที่ปรึกษา
    และคณะกรรมการบริษัทในมากกว่า 20 บริษัท
     
    ✨เทคนิค Pitch อย่างไรให้ชนะ โดนใจกรรมการ
    โดย คุณกาญจน์ชนิต ธำรงบุญเขต – จากผู้ชนะเลิศ Grand Prize Awards S-Booster 2021 จากประเทศไทยที่จะมามอบความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ในการแข่งขันให้กับผู้เข้าร่วม
     
    ✨ พร้อมทั้งทีมไทยที่ผ่านเข้ารอบ S-booster 2024 Final Round เพื่อไปแข่งขันรอบสุดท้ายที่ประเทศญี่ปุ่นได้แก่ทีม ELECTRON+
    และทีม uAlpha ที่จะมาทำกิจกรรมเวที หัวข้อ Pitching S-Booster on Thailand Space Week 2024
     
     
  • 📣📣📣เปิดรับสมัครแล้ว RPD Challenge 2024📣📣📣

    📣📣📣เปิดรับสมัครแล้ว RPD Challenge 2024📣📣📣

    📣📣📣เปิดรับสมัครแล้ว RPD Challenge 2024📣📣📣
    กิจกรรม RPD Challenge 2024 ได้ขยายเวลารับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ – 23 ธันวาคม 2567 เท่านั้น 🛰️
    .
    ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมแข่งขันสามารถสแกน QR CODE หรือคลิ๊กลิงก์ด้านล่าง
    .
    **หมายเหตุ**
    1.การแข่งขัน RPD Challenge เป็นกิจกรรมภาษาอังกฤษ
    2.การแข่งขันของ RPD Challenge 2024 ของผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทยสมัครผ่านช่องทางนี้เท่านั้น
    .

    🛰️ GISTDA ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นจัดการแข่งขัน Rapid Prototype Development (RPD) Challenge 2024

    เฟ้นหาทีมชนะเลิศเพื่อพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง
    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเสริมสร้างแนวคิดการพัฒนา ต่อยอดการใช้อุปกรณ์ต้นแบบ IoT
    เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (Early Warming Service) ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ