# CLUSTERING

กลุ่มอุตสาหกรรมอวกาศไทย

การผลักดันให้เศรษฐกิจอวกาศภายในประเทศเติบโตได้ จำเป็นต้องสร้างโอกาสและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม Space ในประเทศไทย เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจอวกาศในอนาคต โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทยจะเป็นตัวเปิดทางสู่โอกาสทางเศรษฐกิจที่มีมิติกว้างขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมในประเทศเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังสามารถยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมอวกาศในระดับโลก ส่งผลให้เกิดการงานจ้างใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่น การเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม  การสร้างโอกาสให้กับนักวิจัยและผู้ที่สนใจทำงานในอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทย ตลอดจนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างนโยบายและกลยุทธ์ทางอวกาศของประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอวกาศที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทย นอกจากนี้การสร้างพื้นฐานและความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการไทยและบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรม Space ชั้นแนวหน้าของโลกจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทย ตลอดจนการสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการในประเทศ

การที่ผู้ประกอบการในประเทศไทยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมอวกาศถือเป็นก้าวที่สำคัญ ในการพัฒนาต่อยอด และยกระดับให้กับอุตสาหกรรมในแขนงต่างๆ ของประเทศกล่าวคือ การยกระดับกระบวนการด้านคุณภาพในการผลิตของผู้ประกอบการไทยทั้งระบบ ให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนา ต่อยอด และยกระดับขีดความสามารถของตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจให้เป็นผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอวกาศในอนาคต การวางรากฐานสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเกิดความอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมอวกาศ อันก่อให้เกิดการสร้างความรู้ความสามารถ และเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมในประเทศไทยเอง ซึ่งอาจเป็นการพัฒนากระบวนการผลิต การนวัตกรรมในวัสดุและเทคโนโลยี การเพิ่มความสามารถในการทดสอบและตรวจสอบคุณภาพ รวมถึงการสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดาวเทียม และเพื่อก่อให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องมี

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ.  หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) มีวิสัยทัศน์ในการนำคุณค่าจากอวกาศและภูมิสารสนเทศสู่สังคมในการนำพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้เป็นความรู้ไร้พรมแดนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ผู้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม Space ของไทยเข้าสู่ Global Value Chain ได้รวบรวมข้อมูลและจัดทำ Thailand Space Directory เพื่อเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงและเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศ โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านอวกาศทั้งรฐและภาคเอกชน ผู้ประกอบการ รวมถึง Startup ของไทย ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดาวเทียมมาอยู่รวมกัน และจัดหมวดหมู่ของอุตสหกรรมเพื่อให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการค้นหาข้อมูล และการจับคู่ธุรกิจ ( Business matching ) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศ เช่น ผู้ผลิตดาวเทียม ผู้ให้บริการการปล่อยจรวด ผู้ดำเนินงานสถานีพื้นที่ดาวเทียม หรือผู้พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ กับธุรกิจหรือองค์กรอื่นที่กำลังมองหาสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ สร้างความเชื่อมต่อ ความร่วมมือ และธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการภายในระบบอุตสาหกรรมอวกาศ ให้ธุรกิจสามารถสำรวจโอกาสใหม่ ขยายเครือข่าย และเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อกับคู่ค้ากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถและบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของตนได้