# OUR SERVICES

โครงการพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอวกาศของประเทศไทย

1. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอวกาศของประเทศไทย

LOGO Project

2. วัตถุประสงค์

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการเฝ้าระวัง (Monitor) และแจ้งเตือน (Warning) ภัยคุกคามจากอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะอากาศในอวกาศหรือ Space Weather อันเนื่องมาจากกิจกรรมของดวงอาทิตย์ที่ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็กโลก และเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักวิจัยและผู้ที่สนใจนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น

รูปประกอบวัตถุประสงค์ 2.1 : Space weather: cause and effect
https://swc.nict.go.jp/en/knowledge/relation.html

รูปประกอบวัตถุประสงค์ 2.2 :Ionosphere effect on radio user 

3. ความสำคัญของโครงการ

โลกของเราถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ และมีสนามแม่เหล็กโลกที่มีประโยชน์ในการ ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง เช่นคอสมิก หรือ x-ray จากดวงอาทิตย์ ดังนั้นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากดวงอาทิตย์จึงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระเบิดของจุดดับบนดวงอาทิตย์ หรือพายุสุริยะ (Solar storm) ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะส่งอนุภาคพลังงานสูงมายังโลกพร้อมกับลมสุริยะ (Solar flare) ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ และสนามแม่เหล็กโลกก่อให้เกิดแสงเหนือ แสงใต้ที่ขั้วโลก ยิ่งไปกว่านั้นส่งผลให้ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์เกิดความแปรปรวน การระบุตำแหน่งของสัญญาณ GNSS คลาดคลื่อน ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความถี่วิทยุคลื่นสั้น (shortwave radio frequencies) และจะทำให้คลื่นวิทยุดับไม่สามารถใช้งานได้ (radio blackout) ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับ Space Weather เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนผู้ใช้งานคลื่นความถี่วิทยุ ยิ่งไปกว่านั้น ICAO (องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ) ยังระบุให้มีมาตรฐานให้มีข้อมูลของ Space Weather ในมาตรฐานการเดินอากาศด้วย (Air Navigation)

รูปประกอบความสำคัญของโครงการ 3.1 :
Severe space weather Large impact on human society

รูปประกอบความสำคัญของโครงการ 3.2 :
ดวงอาทิตย์กับชั้นบรรยากาศของโลก

4. การใช้ประโยชน์

ข้อมูลจาก Space Weather จะถูกนำมาวิเคราะห์ และเผยแพร่เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสู่การศึกษาวิจัยและพัฒนาในหลายด้าน ได้แก่ การศึกษาคุณลักษณะของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ระบบนำร่องอากาศยาน และการสื่อสารดาวเทียม เป็นต้น

รูปประกอบการใช้ประโยชน์  4.1 :เว็บไซต์ของ ISES ที่รวบรวบ 22 ประเทศสำหรับการวิเคราะห์ Space weather 
http://www.spaceweather.org/ISES/rwc/rwc.html

5. ความสำเร็จที่ผ่านมา (หากมี)

เนื่องจากโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ดังนั้นผู้รับผิดชอบโครงการจึงต้องศึกษา Literature review (การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานนี้) เพื่อทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยคุกความจากสภาวะอากาศในอวกาศ ทั้งนี้ทีมวิจัยได้ติดตั้งเครื่องวัดสนามแม่เหล็กโลก ณ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Southern Thailand Science Park) ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงาน NICT (National Institute of Information and Communications Technology)

รูปประกอบความสำเร็จที่ผ่านมา 5.1 : Space Weather Meeting Room at NICT

รูปประกอบความสำเร็จที่ผ่านมา 5.2 : ภาพแสกงถึงศึกษาการทำงานและหลักการวิจัยเกี่ยวกับ Space Weater โดย NICT ณ Tokyo  Japan

รูปประกอบความสำเร็จที่ผ่านมา 5.3 : การติดตั้ง Magnetometer hole ณ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การร่วมมือกับหน่วยงาน NICT

รูปประกอบความสำเร็จที่ผ่านมา 5.3 : กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องของ Space weather
19 พฤษภาคม 2566 

รูปประกอบความสำเร็จที่ผ่านมา 5.3 : พัฒนาเว็บไซต์ Jasper ออกแบบสำหรับนัก space weather  forecaster

ที่มาและความสำคัญ เนื้อหาเกี่ยวกับระบบเชื่อมต่อไปกับระบบ NSDC
ของโครงการเพื่อการใช้งานสู่สังคม

การเกิดปรากฏการณ์สภาพอากาศในอวกาศที่รุนแรง เช่นพายุสุริยะ การปลดปล่อยเปลวสุริยะ การปลดปล่อยมวลโคโรนา หรือพายุสนามแม่เหล็ก ส่งผลกระทบให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อการใช้งานระบบเทคโนโลยีบนโลก ดังนั้นการทำความเข้าใจและคาดการณ์สภาพอวกาศจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงได้จัดสรรทรัพยากรเพื่อการวิจัยสภาพอากาศในอวกาศ การติดตาม และการพยากรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ปรับการทำงานของดาวเทียม และรับประกันความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีที่เปราะบางและกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยสภาพอากาศในอวกาศ จึงได้ลงทุนและกำหนดนโยบายและแผนงานระดับชาติโดยโครงการนี้มีความเกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูลอวกาศแห่งชาติ เนื่องจากข้อมูลสภาพอวกาศถูกรวมเป็นหนึ่งในข้อมูลอวกาศซึ่ง สพก. มีจุดมุ่งหมายที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านอวกาศไว้ในแพลตฟอร์มเดียวที่มีชื่อว่า “ศูนย์ข้อมูลอวกาศแห่งชาติ” (National Space Data Center, NSDC)

Contact

Sittiporn Channumsin

Acharaporn Bumrungkit