GISTDA

ผู้เขียน: sapace

  • ไทยเปิดฉาก AOSWA 2024 สร้างศักยภาพด้านการสำรวจสภาพอากาศในอวกาศ (Space Weather) พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัยทั่่วโลก

    ไทยเปิดฉาก AOSWA 2024 สร้างศักยภาพด้านการสำรวจสภาพอากาศในอวกาศ (Space Weather) พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัยทั่่วโลก

    ไทยเปิดฉาก AOSWA 2024 สร้างศักยภาพด้านการสำรวจสภาพอากาศในอวกาศ (Space Weather) พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัยทั่่วโลก

    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับ National Institute of Information and Communications Technology (NICT) และพันธมิตรจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Asia-Oceania Space Weather Alliance Workshop (AOSWA) ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านสภาพอากาศในอวกาศระหว่างนักวิจัยจากทั่วโลก โดยเฉพาะจากภูมิภาคเอเชีย-โอเชียเนีย

    ปีนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมใหญ่เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านสภาพอากาศในอวกาศจากนักวิจัยชั้นนำจากทั่วโลก โดยการประชุมนี้เป็นการรวมตัวของศูนย์พยากรณ์อากาศในอวกาศ (Space Weather Centers) และหน่วยงานวิจัยในภูมิภาคเอเชีย-โอเชียเนีย รวมถึงสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมกันสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งในการเฝ้าระวังและวิเคราะห์สภาพอวกาศ ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะการพยากรณ์และเตือนภัยปรากฏการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อดาวเทียม การสื่อสาร และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AOSWA ตั้งแต่ปี 2010 โดยมีหลายหน่วยงานที่เข้าร่วมตั้งแต่มหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และหน่วยงานรัฐ เช่น GISTDA ซึ่งหน่วยงานทั้งหมดเป็นตัวแทนประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของ AOSWA และกลุ่มดังกล่าวเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยีและการวิจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยมีเป้าหมายหลักในการเข้าร่วมคือ การพัฒนาความขีดสามารถด้านเทคโนโลยีและกำลังคนทางด้านการพยากรณ์อากาศในอวกาศ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างองค์ความรู้และขีดความสามารถในด้านอวกาศโดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างความร่วมมือและสร้างโอกาสให้ประเทศไทยเข้าร่วม consortium ในระดับนานาชาติ

    การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แสวงหาโอกาสและหารือเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาพอากาศในอวกาศ ซึ่งรวมถึงการสังเกตการณ์, การสร้างทฤษฎี, การสร้างแบบจำลอง, การพยากรณ์ และการนำเทคโนโลยีไปใช้จริง โดยมีหัวข้อหลักในการประชุมถึง 8 หัวข้อที่น่าติดตาม อาทิ 1) Thermosphere, Ionosphere, and Magnetosphere Dynamics and Interactions, 2) Monitoring and Simulation of Solar Activity and Space Radiation, 3) Connecting the Local Observation to Global Network and Space Weather Services, 4) Space Weather Awareness and Public Outreach, 5) AI and New Techniques of Space Weather Forecasting, 6) CGMS Efforts to Improve User Access to Operational Space Weather Data, 7) General Topics on Space Weather และ Space Weather Impact and Mitigation โดยการประชุมนี้ไม่เพียงแต่เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสสำหรับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในการแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือในด้านการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศในอวกาศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภารกิจการเดินทางสู่อวกาศ เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบแม่เหล็กไฟฟ้าบนพื้นโลก เช่น การแทรกซึมกับการส่งสัญญาณวิทยุคลื่นสั้น, ปัญหากับระบบขนส่งไฟฟ้า, การเปลี่ยนวงโคจรของดาวเทียม และระดับรังสีที่อาจเป็นอันตรายต่อดาวเทียมและนักบินอวกาศในระหว่างการทำภารกิจ

    ที่ผ่านมา ประเทศไทยให้ความสำคัญกับอากาศในอวกาศมาอย่างต่อเนื่อง ซี่งเป็นเรื่องของความเชื่อมโยงโดยตรงกับความปลอดภัยของดาวเทียม การสื่อสารและระบบนำทางต่าง ๆ ที่ใช้งานในประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมองเห็นโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและสร้างความเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค โดยผ่านการร่วมมือกับ AOSWA และองค์กรระดับนานาชาติอื่น ๆ เพื่อยกระดับความสามารถของประเทศและสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการวิจัยในระยะยาว อนาคตเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งในด้านการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพยากรณ์, ด้านขีดความสามารถของประเทศไทยทั้งทางด้านวัตกรรมเทคโนโลยีด้านสภาพอวกาศ เช่น ระบบพยากรณ์อวกาศของประเทศไทย, ด้านการยกระดับนักวิจัยและหน่วยงานรัฐที่จะมีบทบาทสำคัญในเวทีระดับโลก เช่น Committee on Space Research (COSPAR), Panel on space weather, International Space Environment Service (ISES) และหน่วยงานอื่นที่สำคัญในระดับนานาชาติอีกด้วย
  • GISTDA ร่วมกับพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่นผนึกกำลังขับเคลื่อนนิทรรศการด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2024

    GISTDA ร่วมกับพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่นผนึกกำลังขับเคลื่อนนิทรรศการด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2024

    • GISTDA ร่วมกับพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่นผนึกกำลังขับเคลื่อนนิทรรศการด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2024

    สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) หรือ GISTDA ร่วมกับ Cabinet Office the Government of Japan และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2024 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 7 – 6 ตุลาคม 2567 “เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน” เป็นมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability)

    โดยทุกภาคส่วนที่มาร่วมสร้างสมดุลที่ดีกว่าในการเรียนรู้ แชร์ไอเดีย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อโลก รวมถึงต้นแบบการพัฒนาเมือง ชุมชนที่ยั่งยืน ร่วมกับใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน ซึ่งทาง GISTDA ร่วมกับพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่นจัดนิทรรศการด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อความยั่งยืน เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกและเทคโนโลยีการนำทางและการใช้ประโยชน์จากกลุ่มดาวเทียม Global Navigation Satellite System : GNSS เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศสำหรับการแจ้งเตือนภัยในประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและไทยในการพัฒนาต่อยอดการใช้เทคโนโลยีอวกาศและอุปกรณ์ต้นแบบ IoT โดยมีกิจกรรมการแข่งขัน Rapid Prototype Development Challenge : RPD ซึ่งทีมไทยได้รับรางวัลในปี 2022 ทีม TAF จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานในการพัฒนา SMART SUIT และระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานได้ในการทำภารกิจป้องกันไฟป่า รวมถึงได้รับโอกาสในการร่วมกับฝึกงานกับบริษัทชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดได้ในอนาคตต่อไป เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเพื่อความยั่งยืนร่วมกับการใช้ชีวิตร่วมกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น

     

     
  • บรรยากาศพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง GISTDA กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อผลักดันสร้างงานวิจัย และพัฒนากำลังคนในด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

    บรรยากาศพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง GISTDA กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อผลักดันสร้างงานวิจัย และพัฒนากำลังคนในด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

    บรรยากาศพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง GISTDA กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อผลักดันสร้างงานวิจัย และพัฒนากำลังคนในด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

    พิธีลงนามในวันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดย นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง GISTDA กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการใช้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศและวิทยาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ดำเนินการศึกษา วิจัย พัฒนาและการให้บริการทางวิชาการด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ รวมถึงวิทยาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากร เพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่นักศึกษาและบุคลากรร่วมกัน
    ส่งเสริมและเชื่อมโยงการเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริม ผลักดัน งานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ รวมถึงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สร้างกำลังคนในด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในด้านนี้ต่อไปในอนาคต และเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทย
         
  • ดันทีมไทยสู่เวทีสากลต่อยอดธุรกิจใช้เทคโนโลยีอวกาศ S-Booster 2024

    ดันทีมไทยสู่เวทีสากลต่อยอดธุรกิจใช้เทคโนโลยีอวกาศ S-Booster 2024

    ดันทีมไทยสู่เวทีสากลต่อยอดธุรกิจใช้เทคโนโลยีอวกาศ S-Booster 2024

    ขอแสดงความยินดีกับทีม Electron+ ทีม uAlpha จากประเทศไทย และทีม Inbound Aerospace จากประเทศอินเดียในความสำเร็จครั้งนี้ และผ่านเข้ารอบสู่รอบต่อไปเพื่อแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 2,500,000 บาท และมีโอกาสในการศึกษาดูงาน สร้างเครือข่าย ต่อยอดธุรกิจร่วมกับหน่วยงานบริษัทที่มีชื่อเสียง และบริษัท Start-up ญี่ปุ่น โดย GISTDA ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย และผลักดันร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรญี่ปุ่นพร้อมสร้างโอกาสการต่อยอดการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเข้าสู่ Global Value Chian โดยกิจกรรมโครงการแข่งขันไอเดียนวัตกรรมอวกาศ S-Booster 2024 (Asian-Oceania Round) ได้จัดขึ้นในวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00-17.00 น. ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

    ผลการแข่งขัน 3 ทีมที่เข้ารอบสู่รอบ Final Round ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่
    1. ทีม Electorn+ หัวข้อโครงการ Flexible thermal management suite for comfortable life of astronaut โดยคุณจักรกฤษ กอบพันธ์ จากประเทศไทย
    2. ทีม uAlpha หัวข้อโครงการ Micro – Solutions for Further Destination โดยคุณ Nicharas Kireeudomwit และคุณ Thanet Vilasmongkolchai จากประเทศไทย
    3. ทีม Inbound Aerospace หัวข้อโครงการ An autonomous, unmanned free-flying, recoverable spacecraft
    โดย Mr. Vishal Chilupuri จากประเทศอินเดีย
    และผู้ที่ได้รับรางวัล GISTDA AWARD ได้แก่ทีม Bridging the Gap หัวข้อโครงการ Satellite Data for Empowering Emerging Economies โดย Dr. Abhas Masekey จากประเทศเนปาล

    โดยโครงการ S-Booster 2024 เปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นเส้นทางสู่การสร้างธุรกิจของตนเองในอนาคต โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ Gistda ร่วมจัดงานกับ Cabinet Office of Japan, JAXA, NEDO และหน่วยงานพันธมิตรไทยและญี่ปุ่นจัดกิจกรรมแข่งขันประกวดไอเดียทางธุรกิจนวัตกรรม เพื่อดันไอเดียสัญชาติไทย ดังไกลสู่นวัตกรรมใหม่ในระดับโลก และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น Sony Group, Honda, ANA, Taisho Pharmaceutical, SKY Perfect JSAT Group, Yokogawa Electric, Mitsui & Co., Ltd. เพื่อโดยมีเป้าหมายสำคัญในการขยายศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการทั้งไทย และต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมดั้งเดิม เพื่อเข้าสู่โอกาสทางธุรกิจด้วยนวัตกรรม Upstream และ Downstream จากอวกาศ เช่น การใช้ข้อมูลระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม (Location Positioning Service) หรือการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก หรือดาวเทียมโทรคมนาคม เป็นต้น ประกอบกับ GISTDA เองก็มีแนวคิดในการสร้างระบบเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งและยั่งยืน และเข้าสู่ End User ได้มากยิ่งขึ้น
     
     
  • เด็กไทย สร้างชื่อ! ยกทัพโกอินเตอร์ญี่ปุ่น นำผู้ชนะโครงการแข่งขันการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า

    เด็กไทย สร้างชื่อ! ยกทัพโกอินเตอร์ญี่ปุ่น นำผู้ชนะโครงการแข่งขันการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า

    เด็กไทย สร้างชื่อ! ยกทัพโกอินเตอร์ญี่ปุ่น นำผู้ชนะโครงการแข่งขันการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า

    เมื่อวันที่ 3-6 สิงหาคม 2567 GISTDA ร่วมกับ National Space Policy Secretariat, Cabinet Office of Japan (CAO), Multi -GNSS-Asia, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA), MIE University, KEIO university และหน่วยงานพันธมิตรญี่ปุ่น ร่วมจัดกิจกรรม Rapid Prototype Development Booth Camp นำทีมโดยเด็กไทยผู้ชนะลงพื้นที่ ณ เมือง OWASE และ Kyoto ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่
    1.) Team REC จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ชนะรางวัลชนะเลิศ (MGA Awards)
    2.) Team Haitenshyon จากโรงเรียนพุนพินพิทยาคม ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ (GISTDA Awards)
    3.) Team Nong-Tang ทีมผสมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ (GISTDA Awards)
    4.) Team WEEKEL จากประเทศมาเลเซีย ผู้ชนะรางวัล (Michibiki Awards)
    การลงพื้นที่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเป้าสำรวจ เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น สรุปข้อปัญหาภัยพิบัติ (Pain Point) และหาแนวทางแก้ปัญหาของประชาชนในเมือง ผ่านการ Workshop ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละทีมนำเสนอไอเดียพัฒนาแล้วมาต่อยอด ประยุกต์เข้ากับแจ้งเตือนภัยพิบัติในท้องถิ่น เพื่อช่วยจัดการปัญหา อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม พายุใต้ฝุ่น ตลอดจนปัญหาดินถล่ม โดยเสนอแนวคิด และแนวทางให้กับเมือง ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ จะสามารถนำไปต่อยอดช่วยจัดการแก้ไขปัญหาให้กับเมืองโอวาเซะได้ในอนาคต
    ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและไทย โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับ (CAO), Multi -GNSS-Asia, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) และหน่วยงานพันธมิตรญี่ปุ่น จัดกิจกรรมส่งเสริมในการพัฒนาต่อยอดการใช้เทคโนโลยีอวกาศและอุปกรณ์ต้นแบบ IoT (RPD Challenge) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า (Early Warming Service) ด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (QZSS) ในระดับนานาชาติโดยใช้ features สำคัญของดาวเทียมนำทางจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถแจ้งตำแหน่งแม่นยำสูงพร้อม ข้อความแบบสั้น (Short Message) แต่ละทีมจะนำ Hardware IoT ที่ได้รับ มาแข่งขันและพัฒนาระบบที่สามารถพัฒนาการทำงานร่วมกับมือถือสมาร์ทโฟน นาฬิกา หรืออุปกรณ์แจ้งเตือน เพื่อสามารถแจ้งเตือนได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆสามารถแจ้งเหตุภัยพิบัติให้รับรู้โดยทั่วกัน ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียอันเกิดจากธรรมชาติได้อย่างมหาศาล และสำคัญที่สุดคือสามารถแจ้งเตือนด้วยข้อมูลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่ กับตำแหน่งและพื้นที่ (Location Based)
  • S-Booster Open House 2024 เปิดบ้านสร้างไอเดียใหม่ ผลักดันสู่ธุรกิจนวัตกรรมอวกาศ

    S-Booster Open House 2024 เปิดบ้านสร้างไอเดียใหม่ ผลักดันสู่ธุรกิจนวัตกรรมอวกาศ

    S-Booster 2024 เป็นการแข่งขันธุรกิจไอเดียด้านอวกาศระดับ International ประชันไอเดียเพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 2.5 ล้านบาท และมีโอกาสเข้าศึกษาดูงานบริษัทขนาดใหญ่ รวมถึง Startup ที่ญี่ปุ่นฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 8 กรกฎาคม 2567 เปิดรับสมัครทั้งประเภท บุคคล , นักเรียน และกลุ่มบุคคล ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารรวมถึงเสนอไอเดียได้ทางเว็ปไซต์

    https://j-lppf.jp/s-booster/en/2024/

    โดยท่านสามารถติดตามหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

    https://s-booster.jp/,

    https://facebook.com/skp.gistda/

    , https://facebook.com/sbooster.en/

    หรือเบอร์โทรศัพท์ (+66) 033-046-307

    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศหรือ GISTDA จับมือกับ สำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น , JAXA, NEDO และหน่วยงานพันธมิตรในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นจึงได้จัดกิจกรรมแข่งขันประกวดไอเดียทางธุรกิจนวัตกรรมหรือ S-Booster 2024 เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ มาร่วมพัฒนาศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่เส้นทางการสร้างธุรกิจของตนเองในอนาคต ผลักดันไอเดียของคนไทยให้ดังไกลในระดับโลก ภายในงานท่านจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงไอเดียใหม่ๆ ทางธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Sony Group, Honda, ANA, Taisho Pharmaceutical, SKY Perfect JSAT Group, Yokogawa Electric, Mitsui & Co., Ltd. เพื่อดันไอเดียผู้ประกอบการด้านอวกาศสัญชาติไทย สู่นวัตกรรมใหม่ในระดับโลก โดย S-Booster Open House 2024 จัดขึ้นในวันที่ 11 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 (ICT) ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม(ตึก4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

      
  • CONTEST THEME S-Booster 2024 ธีมการแข่งขัน S-Booster 2024 จากบริษัทผู้สนับสนุนงานในครั้งนี้

    CONTEST THEME S-Booster 2024 ธีมการแข่งขัน S-Booster 2024 จากบริษัทผู้สนับสนุนงานในครั้งนี้

    CONTEST THEME S-Booster 2024

    ธีมการแข่งขัน S-Booster 2024 จากบริษัทผู้สนับสนุนงานในครั้งนี้

    เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการ S-booster 2024
    ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 8 กรกฏาคม 2567 https://j-lppf.jp/s-booster/en/2024/
    ☎️ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม:
    หรือสามารถรับชมออนไลน์ติดตามได้ที่เพจ
    Tel: +66 033-046-307
  • เชิญเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโครงการแข่งขันไอเดียนวัตกรรมอวกาศ “S-Booster Open House 2024 “🚀

    เชิญเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโครงการแข่งขันไอเดียนวัตกรรมอวกาศ “S-Booster Open House 2024 “🚀

    🚀“S-Booster Open House 2024”🚀
    🌟เชิญเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโครงการแข่งขันไอเดียนวัตกรรมอวกาศ🌟
    ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย!!
    (ที่นั่งจำนวนจำกัด ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2567)

     

    ได้แล้วที่ https://forms.office.com/r/tgxvY0wvJG

    📌 โดยกิจกรรม S-Booster Open House 2024 จัดขึ้นในวันที่ 11 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 (ICT)
    ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม(ตึก4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
    พบกับแนะแนวโครงการ S-Booster เปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ มาร่วมพัฒนาศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นเส้นทางสู่การสร้างธุรกิจของตนเองในอนาคต โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ Gistda ร่วมจัดงานกับ, Cabinet Office of Japan, JAXA, NEDO และหน่วยงานพันธมิตรไทยและญี่ปุ่นจึงได้จัดกิจกรรมแข่งขันประกวดไอเดียทางธุรกิจนวัตกรรม เพื่อดันไอเดียสัญชาติไทย ดังไกลสู่นวัตกรรมใหม่ในระดับโลก และมีโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นทางธุรกิจของบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น: Sony Group, Honda, ANA, Taisho Pharmaceutical, SKY Perfect JSAT Group, Yokogawa Electric, Mitsui & Co., Ltd.
    ท่านอาจจะเป็นทีมต่อไป ที่ชนะการแข่งขันประกวดไอเดียธุรกิจนวัตกรรมอวกาศ S-Booster 2024 ‼️
    เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการ S-booster 2024
    ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 8 กรกฏาคม 2567 https://j-lppf.jp/s-booster/en/2024/
    ☎️ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม:
    หรือสามารถรับชมออนไลน์ติดตามได้ที่เพจ
    Tel: +66 033-046-307
  • เด็กไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติสร้างนวัตกรรมอวกาศไทย ต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า ด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง โดย GISTDA ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นจัดการแข่งขัน RPD Challenge 2023 ในครั้งนี้

    เด็กไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติสร้างนวัตกรรมอวกาศไทย ต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า ด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง โดย GISTDA ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นจัดการแข่งขัน RPD Challenge 2023 ในครั้งนี้

    เด็กไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติสร้างนวัตกรรมอวกาศไทย ต่อยอดอุปกรณ์ต้นแบบ IoT ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า ด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง โดย GISTDA ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นจัดการแข่งขัน RPD Challenge 2023 ในครั้งนี้

     
    เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับ National Space Policy Secretariat, Cabinet Office of Japan (CAO) และ Sony Group Corporation จัดการแข่งขัน Rapid Prototype Development (RPD) Challenge 2023 รอบตัดสิน (Final Competition) ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย โดยมีน้องๆ ระดับมหาวิทยาลัยอย่าง REC จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลชนะเลิศ MGA Awards และรางวัล Sony Sponsor Award ตามด้วยโดยมีทีม Weekl จากประเทศมาเลเซียได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (Michibiki Award) ในการประกวดครั้งนี้มีรางวัล GISTDA Award จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ทีม Nong Tang ซึ่งเป็นทีมลูกผสมจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์ และน้องมัธยมจากทีม Haitenshyon โรงเรียนพุนพินพิทยาคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี คว้ารางวัล GISTDA Award โดยนำเสนอนวัตกรรมแก้ปัญหาน้ำท่วมสุดไฮเทคด้วย AI ในการตรวจจับระดับน้ำด้วยอุปกรณ์ ของ SONY และแจ้งเตือนภัยด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมระบุตำแหน่ง
    .
    ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการด้านกิจการอวกาศของ GISTDA กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและไทยในการพัฒนาต่อยอดการใช้เทคโนโลยีอวกาศและอุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (Early Warming Service) ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ ด้วยภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา การใช้เทคโนโลยีอวกาศจะช่วยคอยเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนทุกภัยพิบัติ ที่สามารถพัฒนาการทำงานร่วมกับมือถือสมาร์ทโฟน นาฬิกา หรืออุปกรณ์แจ้งเตือน เพื่อสามารถแจ้งเตือนได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆสามารถแจ้งเหตุภัยพิบัติให้รับรู้โดยทั่วกัน ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียอันเกิดจากธรรมชาติได้อย่างมหาศาล และสำคัญที่สุดคือสามารถแจ้งเตือนด้วยข้อมูลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความห่างไกลสัญญาณของพื้นที่ โดยเป็นการแข่งขันแบบเปิดไม่จำกัดอายุและคุณวุฒิการศึกษา ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 40 ทีมทั่วโลก โดยทีมไทยได้รับรางวัลชนะเลิศจำนวน 3 ทีมข้างต้นซึ่งผู้ชนะการแข่งขันในครั้งนี้จะร่วมเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงได้รับโอกาสในการร่วมการฝึกงานกับบริษัท Sony เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดได้ในอนาคตต่อไป
    .
    รองผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวต่อว่า การนำเสนอผลงานและสาธิตผลงานนวัตกรรมในครั้งนี้มี 16 ทีมที่ผ่านเข้ารอบมาจะได้ Workshop ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ผ่านการประกวดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใช้อุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (Early Warming Service) ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ ซึ่งผู้ชนะการแข่งขันในครั้งนี้จะได้รับรางวัลจาก MGA Award GISTDA Award Michibiki Award และ Sensing IoT award รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 500,000 บาท และร่วมเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม RPD Booth Camp ณ ภูมิภาคคันไซ รวมถึงโอกาสในการร่วมทำงานกับบริษัท Sony Group Corporation และการสนับสนุนการจับคู่ธุรกิจจากหน่วยงานชั้นนำทั้งในประเทศและญี่ปุ่น ตลอดจนประกาศนียบัตรและความรู้ที่ได้รับจากการแข่งขันเพื่อที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต